วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่3

อนุทินที่ 3

📢 แบบฝึกหัดทบทวน 📚


          📝1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
            👉  ตอบ   ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ได้แก่ คณะราษฎร์ เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข   เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช 2475 ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
                   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อยู่ในหมวดที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยามมาตรา14ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

        📝2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช  2492  ได้กำหนดอย่างไร  อธิบาย
         👉  ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น หมวดได้แก่ หมวดที่ หมวดที่ 4 และหมวดที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
      หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
             มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
      หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
       หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษารัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควรมาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

📝3.  เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย  
 👉  ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาลโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

📝4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย 
               👉  ตอบ   มีความแตกตางกันตรงที่ประเด็นที่ 1 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมายนัก ส่วนในประเด็นที่ 2 ในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517  การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา  และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอนมีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน 

📝5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
  👉  ตอบ  มีความเหมือนกันตรงที่รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐย่อมได้รับการคุ้มครอง

📝6.  เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย
👉  ตอบ  รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาที่เท่าเทียม โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะหรือความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ

 📝7.  เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
👉  ตอบ    เพื่อต้องการให้บุคคลมีความเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาพึงได้รับประโยชน์และสิทธิเช่นเดียวกัน เพื่อให้บุคคลเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยการได้รับความรู้และการส่งเสริมอย่างทั่วถึง เมื่อมีการกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมและขาดการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา

 📝8.  การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม  และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย   
👉  ตอบ   รัฐธรรมนูญฉบับที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ได้แก่  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ. 2540-2550) และหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง เนื่องจากในการจัดการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับสังคมหรือบริบทของท้องถิ่นนั้นๆด้วยหากเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น จะทำให้เข้าใจถึงบริบทของท้องถิ่นนั้นๆมากขึ้นเช่นเดียวกัน และยังสามารถทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น ตลอดจนการบูรณาการ การให้ความช่วยเหลือทางด้านต่างๆจากท้องถิ่นก็ย่อมมีมากขึ้นด้วย และจะทำให้การศึกษาและท้องถิ่นนั้นๆสามารถพัฒนาไปได้พร้อมๆกันจากความร่วมมือ การพึ่งพาอาศัยและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

📝9.  เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย
👉  ตอบ   เพราะรัฐต้องการให้เด็กและเยาวชนไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามพึงได้รับความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านการศึกษา อีกทั้งพึงต้องการให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้รับความสุข สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและปกติสุข สามารถเติบโตด้วยความพร้อมที่เต็มไปด้วยความบริบูรณ์ในด้านต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือที่เท่าเทียมตลอดจนการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะส่งผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปด้วยความรู้ ความสามารถและคุณธรรม 

📝10.  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
👉  ตอบ    ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำให้เกิดนโยบายเรียนฟรี 15 ปีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน มีการมอบทุนการศึกษา และการให้การศึกษาแก่ผู้พิการ ทำให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถลดความเลื่อมล้ำในด้านการศึกษาในประเทศได้ในระดับหนึ่ง  เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพการศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรมโดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ  ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”  ซึ่งส่งผลให้เยาวชนมีความรู้ ความสามารถ ได้รับการส่งเสริมที่ทั่วถึง ทำให้เยาวชนเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติและมีความสามารถในการแข่งในเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้นและเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้ก้าวหน้ายิ่งไปกว่าเดิม จากที่เห็นได้ชัดจากผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆของเด็กไทยที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและการร่วมมือจากภาครัฐและทุกภาคส่วน ส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสในการแข่งขันในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทำให้ศึกษาของไทยมีระบบ มีความคล่องตัว มีความสามารถในการแข่งขันในระดับต่างๆและในเวทีโลกมากขึ้น อีกทั้งยังลดความเลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาได้มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย

อนุทินที่2

อนุทินที่ 2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 📚

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
       👉  ตอบ  มนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกฎหมายในการดำเนินชีวิต เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขในสังคม แน่นอนเรามิอาจปฏิเสธได้ว่าทุกคนล้วนมีความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในความต่างก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้หากปราศจากกฎหมายที่ใช้ในการกำหนดพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งกฎแลระเบียบขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิบางอย่าง และให้มีเสรีภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อที่มนุษย์จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้งเอารัดเอาเปรียบและเกิดการเข่นฆ่ากันขึ้นในสังคม

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
        👉  ตอบ  ดิฉันคิดว่าในสังคมปัจจุบันหากปราศจากกฎหมายสังคมก็ยังคงดำเนินต่อไปได้แต่จะไร้ซึ่งความสงบสุข เกิดความวุ่นวายต่างๆตามมาหากไม่มีกฎหมายในการควบคุมการกระทำและพฤติกรรมของมนุษย์ คนที่มีโอกาสน้อยกว่าก็จะโดนเอารัดเอาเปรียบ โดยผู้น้อยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไร ความสงบสุขก็จะหายไปเป็นบ้านเมืองที่วุ่นวาย มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้น เช่น การปล้น  มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย  มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกันไม่จบสิ้นและหากไม่มีกฎหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อเป็นบทเรียนให้กับคนในสังคมแน่นอนสังคมจะมีผู้กระทำผิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย                  ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ค. ที่มาของกฎหมาย       ง. ประเภทของกฎหมาย
👉  ตอบ    
    ก. ความหมาย 
 กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆจะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
    ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย  
    ประกอบด้วย ประการ คือ
                 1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภาตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติออกคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย   
                 2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                  3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                 4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
               ค. ที่มาของกฎหมาย
               ที่มาของกฎหมาย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
   1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
 2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
  3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
 4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
          5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
               ง. ประเภทของกฎหมาย
               ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
               1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร 
-แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 
-เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
              2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
-เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
-เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
             3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
-แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
-กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
             4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน
-เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
4.2 กฎหมายเอกชน
-เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
               ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
               1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
-เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
               2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
-เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
               3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา 
-เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้  

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
        👉  ตอบ  ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะทุกประเทศมีการปกครองเป็นของตนเอง มีสภาพและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน จึงทำให้กฏหมายในแต่ละประเทศก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมาย หรือบทลงโทษที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ซึ่งการที่ผู้นำประเทศจะปกครองประชาชนในประเทศนั้นได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการปกครอง นั่นก็คือ “กฎหมาย” เป็นตัวกำหนดการดำรงชีวิตในรูปแบบของสังคมหรือประเทศชาติ เพื่อการอยู่ด้วยกันอย่างปกติสุขและความเป็นปึกแผ่น เกิดสันติภาพและความมั่นคงในประเทศนั้นๆ

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
        👉  ตอบ  สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
        👉  ตอบ   แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯ นั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯ ในคราวเดียวกันก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย 
        👉  ตอบ  ระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
                7.1 ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 
               7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
         👉  ตอบ สามารถพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้เเก่ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลักเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
       ประเภทของกฏหมายสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
       1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฏหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
1.2 กฏหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
       2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับ ให้ชำระหนี้การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
       3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วยการที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่า สาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
      4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครองกำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม ฯลฯ
4.2 กฎหมายเอกชน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบญัญัติบางฉบับ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่า ศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
       👉  ตอบ  ศักดิ์ของกฏหมาย คือ การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าคือมีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
         ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 
          การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้นได้ดังนี้ 
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                        
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
          3. พระราชกำหนด                                                       
          4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
          5. พระราชกฤษฎีกา                                                     
          6. กฎกระทรวง
          7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                    
          8. เทศบัญญัติ
          9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล 

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
          👉  ตอบ  จากเหตุการณ์ดังกล่าวดิฉันมองว่ารัฐบาลกระทำผิด ข้อแรกในการกระทำผิดคือรัฐบาลขัดขวางการประชุมของประชาชนซึ่งขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ว่าประชาชนมีสิทธิในการที่จะเรียกร้องสิทธิของตน ซึ่งข้อนี้ถือได้ว่ารัฐบาลละเมิดสิทธิของประชาชน และการชุมนุมไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเกิดความเดือดร้อนหรือรับความเสียหายอันตรายแต่อย่างใด และอีกอย่างเป็นการชุมนุมที่สงบ และที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการที่รัฐบาลทำร้ายร่างกายประชาชน ซึ่งถือเป็นความรุนแรงที่มิควรเกิดขึ้น เพราะหากผู้นำไม่มีการรับฟังหรือไม่ให้ประชาชนเสนอความคิดเห็นในการปกครองใดๆ สังคมนั้นก็จะขาดซึ่งความสันติสุข 

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
        👉  ตอบ  กฎหมายการศึกษา เป็นบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษา เป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบันเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา ถือได้ว่าเป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ และได้จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเเละสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นกฎหมายการศึกษาจึงเปรียบเสมือนตัวขับเคลื่อนเเละกรอบเเนวทางในการปฏิบัติให้บุคคลทางการศึกษาเเละระบบทางการศึกษาปฏิบัติไปในเเนวทางที่ถูกต้อง

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
        👉  ตอบ  กฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาและเป็นเรื่องพื้นฐานของคนเป็นครูที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว หากไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวก็ย่อมเป็นที่ลำบากของการเป็นครู เนื่องจากไม่สามารถที่จะเข้าใจจุดมุ่งหมาย หลักการ  หรือข้อกำหนดระเบียบต่างๆของการศึกษาหรือทางราชการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงการประกอบอาชีพและในด้านการสอน เนื่องจากครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ก็ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาได้ไม่เต็มศักยภาพ และการที่ครูขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวก็แสดงให้เห็นแล้วว่าครูขาดความรอบรู้ และขาดการแสวงหาความรู้ในตนเอง ซึ่งครูจักต้องพร้อมไปด้วย ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ได้ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของการเป็นครู ดังนั้นคนเป็นครูจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษากฏหมายดังกล่าว เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งก็ย่อมปฏิบัติงานสอนและหน้าที่อื่นๆได้อย่างเต็มความสามารถซึ่งจะส่งผลให้ทั้งตนเองและศิษย์เป็นบุคคลที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพของสังคมและประทศชาติต่อไป 

อนุทินที่1

อนุทินที่ แนะนำตนเอง



สวัสดีครับ ผมชื่อ นายพรชัย อนุพันธ์ ชื่อเล่น ฟี รหัสประจำตัวนักศึกษา 5881112027
เกิดเมื่อวันที่ 31 เดือน กรกฏาคม พุทธศักราช 2539 ปัจจุบันอายุ 22 ปี

การศึกษา จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนบ้านคันธง
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจาก  โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทศ
ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
              
อุดมการณ์การเป็นครู 
    สำหรับข้าพเจ้ามีอุดมการณ์ของการเป็นครูว่า "ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีค่า" ครูคือแบบอย่างที่นักเรียนหรือคนทั่วไปมองและะสามารถนำมาเป็นตนแบบได้  เพราะฉะนั้นการเป็นครูของข้าพเจ้านอกจากจะมีความรู้ความสามารถที่เพียบพร้อมแล้วนั้น การวางตัวถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับอาชีพนี้ ครูจะถูกจับตามองอยู่ตลอด การปฏิบัติตนจำเป็นจะต้องเหมาะสมและไม่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ครูที่สมบูรณ์พร้อมด้วยความรู้ความสามารถ และการประพฤติปฏิบัติ "ถือเป็นครูโดยแท้จริง"

เป้าหมายของนักศึกษา 
     เป้าหมายของข้าพเจ้า คือ การหมั่นเพียรจนสำเร็จการศึกษา และสามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการให้เร็วที่สุดหลังสำเร็จการศึกษา สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้ และถ้ามีโอกาสข้าพเจ้าอยากจะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางด้านหน้าที่การงานของตนเอง